วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552





เนื้อหาการทำโครงงาน

1. แนวคิดที่ทำโครงงาน
ปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยนับได้ว่าเกือบจะถูกลบเลือนไปจากคนไทย เนื่องจากการรับวัฒนธรรมต่างชาติโดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เยาวชนไทยหันไปให้ความสำคัญกับกิจกรรมและการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือเกมส์แบบฝรั่ง จนไม่รู้จักการละเล่นพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยเรา ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อปลูกฝังจิตใต้สำนึกให้กลุ่มคณะผู้จัดทำและเยาวชนไทยได้ความรู้และประสบการณ์ เห็นความสำคัญและอยากกลับไปเล่นการละเล่นแบบไทยอีกครั้งและเพื่อสืบสายมรดกให้สืบทอดแก่เยาวชนรุ่นหลังต่อไป นอกจากนี้เรายังสามารถเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อที่ได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมการละเล่นของไทย คณะผู้จัดทำขอเป็นตัวแทนนำเสนอสิ่งที่ดีงามให้แก่คนในประเทศและต่างประเทศ

2. ความสำคัญของโครงงาน
จากแนวคิดการทำโครงงานที่ได้กล่าวมาข้างต้นและเห็นได้ว่าหลายๆคนไม่คุ้นหูหรือคุ้นเคยได้ยินชื่อหรือเคยสัมผัสกับเสน่ห์ของการละเล่นของเด็กไทยเลยและยิ่งนับวันสิ่งเหล่านี้ก็จะหายจากไปจากจิตใต้สำนึกของคนไทยมากยิ่งขึ้น ดังนี้โครงงานนี้จึงเป็นตัวแทนและเป็นสื่อกลางในการฟื้นฟู อนุรักษ์และสืบทอดการละเล่นของเด็กไทยให้คนไทยเองได้เห็นความสำคัญและเป็นสื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักต่อไป และโครงงานมัลติมีเดี่ยนี้ได้เลือกที่จะนำเสนอการละเล่นของเด็กไทยในแบบฉบับของภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส เพื่อเป็นข้อมูลความรู้แก่ผู้สนใจเรียนภาษาฝรั่งเศสและนำเสนอการละเล่นไทยสู่คนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี

3. จุดประสงค์ในการทำโครงงาน
1. สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถที่จะอธิบายและนำเสนอประวัติ กติกาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของไทยได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
2. สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในการนำเสนอการละเล่นของเด็กไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีทักษะในการนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. เป้าหมายของโครงงาน
ด้านคุณภาพ ใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในการนำเสนอผลงานในรูปแบบมัลติมีเดี่ย
ด้านปริมาณ ทุกกลุ่ม

5. สมมุติฐานและการกำหนดตัวแปร
*สมมุติฐาน นักเรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอการละเล่นของเด็กไทยเป็นภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส
*ตัวแปรต้น การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย
*ตัวแปรตาม นักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีและสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร
*ตัวแปรควบคุม
1. สมาชิกในคณะผู้จัดทำจำนวน 5 คน
2. การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยจำนวน 3 การละเล่น


6. ระยะในการดำเนินการทำโครงงาน
3-4 พ.ย 2551 ค้นหาข้อมูล 2 สัปดาห์
8 พ.ย 2551 ส่งโครงงานภาษาไทยที่ผ่านการตรวจสอบจากครูที่ปรึกษาร่วมโครงงาน
8 ธ.ค 2551 ครูส่งโครงงานคืนแก่สมาชิกกลุ่มเพื่อนำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส (การละเล่น)
9 ธ.ค. 2551 - 2 ม.ค. 2552 หยุดเรียนเพื่อเตรียมสอบ QUOTA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5 ม.ค 2552 ครูส่งคืนงานที่แก้ไขแล้วทั้งภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสแก่สมาชิกกลุ่ม
12-23 ม.ค 2552 เล่นการละเล่นและถ่ายทำ Clip Video
26-6 ก.พ 2552 นำไปจัดทำในรูปแบบโครงงานมัลติมีเดี่ย ด้วย blogspot.com
13 ก.พ 2552 ประเมินร่วมกัน

7. ขอบเขตการทำงาน
- ทุกคนรับผิดชอบงานในหน้าที่
- เนื้อหาการละเล่นทาง Internet , หนังสือการละเล่นพื้นบ้านจากห้องสมุดและจากการบอกเล่าของผู้อาวุโส

8. งบประมาณ
- ค่าปริ้นงาน 50 บาท

9. แหล่งเรียนรู้
* http://www.khonthai.com/Vitihai/play.html
* http://www.thaifun.th.gs/
* http://thaiplaying.th.gs/web-t/haiplaying/thaifunny.html

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- รู้ประวัติความเป็นมาและกติกาของการละเล่นของเด็กไทย
- ปลูกจิตสำนึกให้เด็กไทยในสมัยปัจจุบันร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาพื้นบ้าน
- เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้สนใจในการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย
- สามารถนำเสนองานด้วยภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร
- เผยแพร่การละเล่นพิ้นบ้านของเด็กไทยสู่ประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส

11. ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
- ไม่รู้คำศัพท์บางคำในเนื้อเพลงที่ใช้ประกอบการละเล่น
- เนื้อเพลงที่ใช้ประกอบการเล่นส่วนใหญ่เป็นคำกลอน
- เพลงไม่สามารถหาความหมายได้จึงยากต่อการแต่งเป็นภาษาฝรั่งเศส
- เนื้อเพลงงูกินหางบางเพลงที่ศึกษามาจะไม่ค่อยตรงกัน

12. แนวทางการแก้ไขปัญหา
- ปรึกษาอาจารย์วิชาภาษาไทยว่าบางคำในเนื้อเพลงมีความหมายหรือไม่
- หาคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสอื่นที่คล้ายกับคำภาษาไทยและคล้องจองกันเพลงที่ร้องเวลาเล่น
- ทุกคนในกลุ่มร่วมมือกันในการรับผิดชอบงานที่ตนได้รับ เพื่อจะส่งงานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
- ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์พิเศษ